8 วิธีสร้างความร่วมมือและประสานพลังในองค์กร (Team Collaboration)

Loading

 

 Jeff Bezos ผู้ก่อตั้ง amazon.com  ได้ตั้งทฤษฎีที่น่าสนใจมากขึ้นมาทฤษฎีหนึ่งนั่นก็คือ  “Two pizza rule”  

ทฤษฎีนี้บอกว่าจำนวนคนทำงานในทีมหนึ่งต้องไม่เกินจำนวนคนที่สามารถทานพิซซ่าได้สองถาด นั่นเพราะว่าจำนวนนี้เป็นจำนวนที่เหมาะสมให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพและสัมพันธภาพในทีมที่มีจำนวนคนไม่มากจะคล่องตัวและว่องไวกว่า แต่ในองค์กรใหญ่ๆเราไม่สามารถจ้างพนักงานจำนวนเท่านี้มาทำงานที่มีหลายส่วนได้ การประสานความร่วมมือเพื่อลดขั้นตอนความยุ่งยากของการสื่อสาร ขจัดปัญหาความขัดแย้งในหน่วยงานจึงมีความจำเป็น

วันนี้เรามีเคล็ดลับ 8 วิธีเพื่อสร้างความร่วมมือในองค์กรมาฝาก ซึ่งทุกท่านสามารถนำไปปรับใช้ให้เข้ากับองค์กรที่ท่านทำงานอยู่ได้ครับ

            1. สร้างความสัมพันธ์ให้เกิดขึ้นในองค์กร ความสัมพันธ์ที่ดีเป็นสิ่งที่ช่วยให้การดำเนินงานในองค์กรราบรื่น การพูดคุย ประสานงานในแต่ละหน่วยงานล้วนมีผลมาจากความสัมพันธ์ทั้งสิ้น ซึ่งผู้บริหารสามารถสนับสนุนให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีในองค์กรได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่นการจัดกิจกรรมสัมพันธ์ร่วมกัน เปิดพื้นที่ให้พนักงานทำความรู้จักกัน

            2. สร้างแบบอย่างของความร่วมมือและการมีส่วนร่วม สร้างแบบอย่างค่านิยมองค์กรให้เกิดพฤติกรรมทางบวกที่จะส่งผลดีต่อการสร้างความร่วมมือในองค์กร และชี้ให้เห็นว่าหากสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นกับองค์กรแล้วจะมีผลดีต่อการปฏิบัติงานและพนักงานในองค์กรอย่างไร

            3. สร้างวัฒนธรรมของการแบ่งปัน ไม่ใช่เพียงการให้ของขวัญ แต่เป็นการให้คำปรึกษา คำแนะนำ การช่วยเหลือในการปฏิบัติงานร่วมกัน รวมถึงชื่นชมกันและกัน ให้กำลังใจกันในการทำงาน

            4. ส่งเสริมทักษะที่จำเป็นในการทำงาน ให้เกิดความชำนาญในทักษะงานที่ทำ เพื่อพร้อมที่จะทำงานในส่วนของตนได้อย่างราบรื่นและส่งเสริมให้พนักงานมีทักษะการสื่อสาร การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น

            5. สร้างความแข็งแกร่งในองค์กร ให้เกิดการถ่ายทอดทักษะการทำงานในส่วนต่างๆได้และจะดียิ่งขีึ้นหากได้รู้และเข้าในแนวทางการทำงานในส่วนต่างๆ รุ้ปัญหาและอุปสรรคที่มีร่วมกัน

            6. สร้างผู้นำที่เข้มแข็งและมีส่วนผลักดันด้านความสัมพันธ์ ความร่วมมือ ซึ่งไม่ได้หมายถึงเฉพาะหัวหน้างานเองเท่านั้น แต่เป็นผู้นำตามธรรมชาติในการสร้างความคิดทางบวก สานสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้อื่นและคอยผลักดัน คอยช่วยให้บรรยาการศในการทำงานร่วมกันดีขึ้น หรืออาจจะเป็นผู้นำในการสร้างโครงการอบรม  ผู้อาสา ผู้มีส่วนร่วมในคณะทำงานรับผิดชอบโครงการสร้างความสัมพันธ์ทีมงาน อบรมTeam Building เป็นต้น

            7. เชื่อมั่น ไว้ใจ ความเชื่อใจระหว่างกันช่วยให้การร่วมมือประสบความสำเร็จ

            8. เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตน เมื่อแต่ละส่วนงานต่างเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตน เห็นความสำคัยในหน้าที่ที่ทำว่ามีความสำคัญอย่างไร ย่อมทำให้ความร่วมมือในการทำงานประสบความสำเร็จ

ทั้ง 8 ข้อนี้เป็นเพียงปัจจัยเบื้องต้นในการสร้างทีมเพื่อประสานความร่วมมือในองค์กร ซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาให้องค์กรก้าวหน้าต่อไป

ขอขอบคุณ:http://www.phanrakwork.com