ลูกเต๋ากับคณิตศาสตร์

Loading

 ความรู้ ลูกเต๋ากับคณิตศาสตร์

เรื่องการศึกษาในปัจจุบันนี้ ได้การมีการเพิ่มเติมด้วยกลยุทธ์ที่จะทำให้ เด็กนักเรี่ยกได้รับความรู้และความสนุกที่ได้ใช้ความคิดและพร้อมกับได้มีการเล่นเกมอะไรบางอย่าง ที่มีสีสัน เฃ่นการต่อรูปสัตว์เพื่อบอกถึงจำนวน ของผลบวกแลผลลบ ซึ่งเป็นการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ ที่ทำให้เด็กขณะเล่นเกมต่อรูปต่างๆได้รับความไปโดยไม่รู้ตัว และยังจดจำได้ง่ายอีกด้วย เทคนิคที่ได้มีการนำเอาลูกเต๋าเข้ามาเป็นสื่อการเรียนการสอน เกี่ยวกับเรื่อง ความน่าจะเป็น ของการออกผลของลูกเต๋าที่ได้โยนเสี่ยงทายแต่ละครั้งและนำผลเหล่านั้นมารวมกันหรือนำมาลบกันคูณกัน ซึ่งเป็นการเรียนรู้ ในการทอดลูกเต๋าลูกหนึ่ง ในแต่ละครั้งที่เราได้ทอดหรือโยนลูกเต๋าเหล่านั้น ที่มีขนาดของแต่ละด้านล้วนมีหน้าที่เท่าๆกันที่ได้แสดงของแต่ละหน้ามีสํญลักษณ์ที่มีจำนวนไม่เท่ากัน และจะไม่มีการถ่วงที่จะให้หน้าใดหน้าหนึ่งหงายได้ง่ายกว่าหน้าอื่น ซึ่งเป็นการทำให้ “น้ำหนัก” แต่ละลูกต้องมีน้ำหนักที่ใกล้เคียงกันได้มากที่สุดทำให้ผลของการทอดลูกเต๋ามีการหงายหน้าใดหน้าหนึ่งมีผล ความน่าจะเป็นย่อมเท่ากันหรือผลที่ลูกเต๋าจะเกิดขึ้นของด้านลูกเต๋าที่อาจจะแตกต่างกันของแต่ละหน้า ซึงการที่นักเรียนได้มีโอกาสได้เข้ามาเรียนตามสถานศึกษาหลายแหล่งซึ่งบางที่ก็เป็นเสมือน พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ที่ได้สร้างตัวตึกให้มีรูปร่างเหมือนลูกเต๋าหรือที่หลายคนเรียกติดปากว่า ตึกลูกเต๋า ที่เรารู้จักกัน ทำให้ดูแล้วสวยงามแปลกตา

แหล่งกำเนิดของลูกเต๋า
ลูกเต๋า ที่หลายคนได้พบเห็นผ่านหูผ่านตามาจนชินตาและอาจจะได้จับต้องทอดลูกเต๋าเล่นเกม เช่น เกมเศรษฐี เล่นกันอย่างสนุกสนาน ซึ่งที่มาของลูกเต๋า นั้น เชื่อได้ว่ามาจากประเทศจีน และมีความเกี่ยวข้องกับความเป็นจีนอยู่แน่นอน ซึ่งเราก็พอจะทำความเข้าใจได้ว่า ลูกเต๋า เหล่านี้อาจจะมีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน เพราะว่ามาจากภาษาจีนแต้จิ๋วที่ว่า เตาแจ้  ซึ่งคำว่า เตา ได้มีการถอดเสียงออกมาเป็น เต๋า ส่วนคำว่าแจ้ ถูกแปลงมาเป็นคำว่า ลูก ดังนั้น คำว่า เตาแจ้ จึงกลายมาเป็นคำภาษาไทยว่า ลูกเต๋า นั่นเองแต่จริงๆ แล้วอาจจะมีข้อมูลอีกบางส่วนที่มีการค้นหาหลักฐานและได้กล่าวถึงความเป็นมาของ ลูกเต๋าว่า คงมีต้นกำเนิดมาจากประเทศอินเดียและเปอร์เซียโบราณ ซึ่งปรากฏจากหลักฐานที่ค้นพบจาก การขุดซากบริเวณพื้นที่ในแถบมองโกล ก่อนที่จะแพร่หลายไปยังแถบภูมิภาคในประเทศจีน  ลูกเต๋าที่ปรากฏพบนั้นมีลักษณะเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าทำมาจากกระดูกข้อเท้าของแกะและได้มีการพัฒนาการได้นำเอาการใช้งานของ ลูกเต๋า ถูกนำไปใช้ในการเล่นเกมและการพนันส่วนใหญ่ เช่น เกมเศรษฐี เกมบันไดงู ไพ่นกกระจอก ไฮโล แต่ในอีกด้านหนึ่ง ลูกเต๋าก็มีบทบาทและความสำคัญในด้านการคำนวณทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับ ความน่าจะเป็นเช่นเดียวกัน แต่ก็นั่นแหละ กำเนิดของ วิชาความน่าจะเป็น แต่สุดท้ายก็มีความเกี่ยวข้องกับการพนันอยู่ดี ลูกเต๋า เป็นต้นกำเนิดสู่ วิชาความน่าจะเป็นในปัจจุบัน  มีเรื่องบันทึกที่มาของวิชาความน่าจำเป็นไว้ว่า ได้มีนักพนันชาวฝรั่งเศสชื่อ เชอวาลิเยร์ เดอ เมเร (Chevalier de mere)ได้ประสบปัญหาในการพนันที่เกี่ยวกับการทอดลูกเต๋า จึงไปปรึกษาปาสคาล (Blaise Pascal) นักคณิตศาสตร์ในสมัยนั้น ด้วยปัญหา  2 ข้อคือ 
-ปัญหาที่ 1 การทอดลูกเต๋า 1 ลูกและ 2 ลูก 
-ปัญหาที่ 2 การแบ่งรางวัลในเกมที่ต้องหยุดเล่นก่อนกำหนด 
ซึ่งปาสคาลก็สามารถอธิบายและแก้ปัญหาในทุกข้อได้โดยอาศัยหลัก ความน่าจะเป็น ที่ใช้หลักการคิดจาก ลูกเต๋า นั่นเอง

ลักษณะที่สำคัญของลูกเต๋า
ลูกเต๋ามี รูปทรงที่เป็นลูกบาศก์ลูกเต๋า และมี 6 หน้า ในปัจจุบันมีหลายแบบ หลายรูปทรง แต่ที่คุ้นตากัน คือ แต่ละหน้าแสดงสัญลักษณ์ เอาไว้ทั้ง 6 หน้าของลูกเต๋า ซึ่ง แทนด้วยจำนวนตัวเลข ตั้งแต่ 1 ถึง 6 ซึ่งสัญลักษณ์ดังกล่าวจะมีลักษณะเป็นแต้มด้วยจุดที่คว้านลงไปในเนื้อลูกเต๋า  แต้มจุดดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นสีแดงหรือสีดำเป็นส่วนใหญ่ ลูกเต๋าแบบนี้นิยมทั้งในซีกโลกตะวันตกซึ่ในซีกโลกตะวันออกนั้น ก็จะมีความแตกต่างกันที่ลูกเต๋าที่ใช้ในซีกโลกตะวันออก นั้นซึ่งลูกเต๋าแบบจีน ลูกเต๋าที่คนส่วนใหญ่จะรู้จักและนิยมไปใช้ คือลูกเต๋าแบบจีน มีจุดเด่น จุดที่แสดงแต้ม 1 กับแต้ม 4 จะเป็นสีแดงสดต่างกับจุดแสดงแต้มอื่นๆ ซึ่งเป็นสีดำ  และหน้าตรงข้ามของลูกเต๋ามักจะมีผลบวกเมื่อนำรวมกันแล้วก็จะ เท่ากับ 7

สรุป ประโยชน์ของลูกเต๋ากับการเรียนทางคณิตศาสตร์
เด็กนักเรียนที่เบื่อที่จะเรียนหรือเรียนอ่อนทางคณิตศาสตร์ ซึ่งอาจจะมี พื้นฐานที่ไม่แน่นพอ ซึ่งอาจเกิดจากจดจำสัญลักษณ์ซึ่งเป็นพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ และก็ไม่มีโอกาสได้ทบทวนโจทย์เดิมซ้ำๆ
ให้เกิดความชำนาญ และไม่มีโอกาสทำการบ้านที่ต้องฝึกทำโจทย์ที่มีคำตอบได้หลายๆ คำตอบ ทำให้เด็กๆ ไม่สามารถเข้าใจความสัมพันธ์ของตัวเลข จนนำไปสู่ความไม่ชอบและเบื่อที่เรียนคณิตศาสตร์
ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ปัญหาการเรียนคณิตศาสตร์จึงได้นำ เอาลูกเต๋าเข้ามาเป็น อุปกรณ์ เสริม
ประโยชน์ของลูกเต๋า
    1. ผู้ปกครองและคุณครูใช้เป็นสื่อเสริมการเรียนรู้ให้เด็กเข้าใจเรื่องการบวกลบได้ดียิ่งขึ้น
    2. เด็กๆ จะสนุกกับการใช้ลูกเต๋าหาผลลัพธ์ทางคณิตศาสตร์แทนการเขียนและใช้เป็นตัวช่วยสำหรับเด็กที่เพิ่งเริ่มฝึกเขียนได้เป็นอย่างดี
    3. เด็กๆ จะได้ทบทวนโจทย์เดิมซ้ำๆ จนชำนาญ และนำไปสู่ความเข้าใจเรื่องความสัมพันธ์ของตัวเลข
    4. เด็กๆ จะจดจำสัญลักษณ์พื้นฐานของตัวเลขได้
    5. สามารถปรับเปลี่ยนโจทย์ได้หลากหลาย และสามารถทบทวนโจทย์เดิมได้ซ้ำๆ จนเด็กเกิดความชำนาญ