คำอธิบายและแนวปฏิบัติของระบบราชการ4.0 มิติการทำงานตามหลักภควันตภาพ

Loading

คำอธิบายและแนวปฏิบัติของระบบราชการ4.0 มิติการทำงานตามหลักภควันตภาพ

ระบบราชการ 4.0

ชื่อองค์ประกอบ

ความหมาย / ความสำคัญ

แนวปฏิบัติ

การทำงานร่วมกันแบบบูรณาการอย่างแท้จริง ในเชิงยุทธศาสตร์ตั้งแต่ระดับการวางนโยบายไปจนถึงการนำไปปฏิบัติ (Collaboration)

องค์ประกอบที่ 1
ด้านการนำองค์กรของผู้บริหาร (LD)

ผู้บริหารเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้นำหลักการทำงานแบบภควันตภาพมาใช้ในองค์กร เพื่อทำให้เกิดการเพิ่มคุณค่า รวดเร็ว เพิ่มประสิทธิภาพ และต้องทำให้บุคลากรเชื่อว่าการทำงานแบบภควันตภาพจะทำให้เกิดการพัฒนาคุณภาพของงาน และออกแรงน้อยกว่าเดิม หรือ “ทำน้อย ได้มาก”

o ผู้บริหารเป็นต้นแบบในการทำงานแบบภควันตภาพ

o ผู้บริหารมีพฤติกรรมที่ปรับเปลี่ยนมุมมองของบุคลากรให้เชื่อว่าการทำงานแบบภควันตภาพช่วยให้งานสำเร็จมากขึ้นใช้เวลาน้อยลง

 

องค์ประกอบที่ 2
ด้านนโยบายและการวางแผน (PP)

องค์กรต้องมีการวางทิศทางการทำงาน (Direction Setter) ตามหลักภควันตภาพในแต่ละโครงการ/กิจกรรม และปรับปรุงนโยบายและแผนงานให้มีความเหมาะสมกับเงื่อนไขของการทำงานภควันตภาพ มีการสร้างวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision)

กับบุคลากรในหน่วยงาน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกหน่วยงาน (Stakeholder) และมีแผนกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนการทำงานแบบภควันตภาพในระยะแรก กำหนดตัวชี้วัดและถ่ายทอดไปสู่องค์กร หน่วยงานย่อย และบุคคล เพื่อให้เกิด

การกระจายอำนาจและลดการรวมศูนย์การตัดสินใจ

o มีแผนกลยุทธ์ในการทำงานแบบภควันตภาพ ซึ่งระบุถึงวิสัยทัศน์ร่วม

o มีตัวชี้วัดด้านภควันตภาพระดับองค์กร หน่วยงานย่อย และบุคคล

o มีการปรับแผนงาน โครงการ กิจกรรม งบประมาณ เพื่อให้สอดรับกับการทำงานแบบภควันตภาพ

 

องค์ประกอบที่ 3
ด้านการนำสู่การปฏิบัติ (IM)

การสร้างความเปลี่ยนแปลง (Change) ให้องค์กรทำงานแบบภควันตภาพ โดยสร้างให้เกิดการยอมรับการใช้นวัตกรรมต่าง ๆ ให้บุคลากรลดการต่อต้าน และมีบทบาทในการสร้างวิธีการทำงานแบบใหม่ ควรมีการสร้างทีมงานที่มาจากหลากหลายหน่วยงานในองค์กร เพื่อนำวิสัยทัศน์ร่วมมากำหนดแนวปฏิบัติ/คู่มือที่เป็นเอกภาพ ยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม ไปสู่การปฏิบัติ

o มีทีมงานเป็นต้นแบบเพื่อดำเนินการและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการทำงานแบบภควันตภาพ

o มีการจัดทำคู่มือ/แนวปฏิบัติ เกี่ยวกับการทำงานแบบภควันตภาพที่มีความยืดหยุ่น

 

องค์ประกอบที่ 4
ด้านการติดตามและประเมินผลลัพธ์ (EVA)

มีการติดตามและประเมินผลลัพธ์ของการทำงานแบบภควันตภาพ โดยใช้ระบบสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการช่วยรวบรวม วิเคราะห์ และแปลผล การประเมินดังกล่าวต้องเป็นข้อมูลสำหรับผู้บริหารใช้ตัดสินใจในเชิงนโยบาย และใช้เป็นข้อมูลเพื่อนำมาปรับปรุงสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการทำงานแบบภควันตภาพ  นอกจากนั้นอาจมีหน่วยงานภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในการติดตาม ประเมินผล หรือตรวจสอบด้วยก็ได้

o มีการติดตามผลการทำงานแบบภควันตภาพตามตัวชี้วัดที่กำหนด

o มีระบบสารสนเทศมาช่วยในการติดตามผลการทำงานแบบภควันตภาพ

o ผู้บริหารรับทราบและมีการนำข้อมูลจากการติดตามผลมาใช้ในการสั่งการ/ตัดสินใจให้เกิดการทำงานแบบภควันตภาพ

สามารถแก้ไขปัญหาโดยไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการทำงาน
รูปแบบเดิม และสามารถตอบสนองได้ทันที (Non-routine problem solving, Real time capability)

องค์ประกอบที่ 5
ด้านกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ (RG)

การผลักดันให้มีการใช้กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ทั้งในเชิงการปฏิบัติงาน ความปลอดภัยของข้อมูลและการสื่อสาร  การประกันคุณภาพผลงาน การมุ่งเน้นจริยธรรมในการทำงานแบบภควันตภาพด้วยความรับผิดชอบ  นอกจากนั้น อาจต้องมีการปรับแก้กฎหมายที่ล้าสมัย หรือเป็นอุปสรรคต่อการทำงานแบบภควันตภาพด้วย

มี/ปรับแก้กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับในด้าน

o การปฏิบัติงานแบบภควันตภาพ

o ความปลอดภัยของข้อมูลและการสื่อสารในการทำงานแบบภควันตภาพ

o การประกันคุณภาพผลงานจากการทำงานแบบภควันตภาพ

o จริยธรรมในการทำงาน

 

องค์ประกอบที่ 12
ด้านการติดต่อสื่อสาร (CM)

การกระตุ้นให้บุคลากรมีการสื่อสารแบบสองทางอยู่เสมอ โดยการใช้เทคโนโลยีมาเป็นส่วนช่วยในการติดต่อสื่อสารเพื่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว สามารถสื่อสารได้ทั้งภายในหน่วยงานและระหว่างหน่วยงาน ทั้งระยะใกล้ และระยะไกล และเป็นการติดต่อสื่อสารที่เป็น Real Time

o มีช่องทางการสื่อสารแบบสองทางที่หลากหลายภายในหน่วยงาน

o มีช่องทางการสื่อสารแบบสองทางที่หลากหลายภายนอกหน่วยงาน

การดำเนินงานที่ตอบสนองทันที/ทันเวลา/เชิงรุก ทันต่อการเปลี่ยนแปลง มีการคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า (Pro-active)

องค์ประกอบที่ 6
ด้านโครงสร้างการบริหารงานขององค์กร (ORG)

การทำงานแบบภควันตภาพเกิดขึ้นได้กับโครงสร้างองค์กรทุกแบบ ทุกขนาด และทำให้องค์กรเป็นแบบแนวราบ (Flat Organization) และโครงสร้างองค์กรที่มีการทำงานแบบแมทริกซ์ (Matrix Organization) ยิ่งองค์กรที่มีขนาดใหญ่ มีสายการบังคับบัญชาที่มากและซับซ้อน ยิ่งจำเป็นต้องทำงานแบบภควันตภาพ

o มีวิธีการบริหารทั้งแบบทางการและไม่เป็นทางการเพื่อลดลำดับขั้นบังคับบัญชาให้สั้นลงเพื่อให้การทำงานเกิดความรวดเร็วยิ่งขึ้น

 

องค์ประกอบที่ 8
ด้านลักษณะงาน (JD)

การลดขั้นตอนและกระบวนการทำงานในทุกลักษณะงาน รวมทั้งการกระจายอำนาจในภาระงานทุกด้าน โดยเฉพาะงานที่มีขั้นตอนวิธีการหรือระเบียบแบบแผนที่ค่อนข้างตายตัว เช่น งานธุรการ งานการเงินงบประมาณ ฯลฯ  จะเหมาะสมกับงานภควันตภาพ แต่ในงานด้านวิชาการสามารถนำไปปรับใช้ตามบริบทหรือลักษณะกิจกรรมที่เหมาะสม ก็สามารถใช้หลักภควันตภาพในการทำงานได้ด้วยเช่นกัน ยิ่งการทำงานที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรจำนวนมากยิ่งมีความเหมาะสมมาก

o แผนการวิเคราะห์กระบวนงานหลักที่จะใช้ภควันตภาพ

o แผนการวิเคราะห์กระบวนงานสนับสนุนที่จะใช้ภควันตภาพ

 – ระบบการทำงานที่ปรับเป็นดิจิตอลเต็มรูปแบบ (Digitization)
– แบ่งปันทรัพยากรในการทำงานร่วมกัน เพื่อลดต้นทุนเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน (Shared services)

องค์ประกอบที่ 7
ด้านงบประมาณ โครงสร้างพื้นฐาน และอุปกรณ์ (BGT)

อุปกรณ์และเครื่องมืออำนวยความสะดวกต้องมีความพร้อมและเพียงพอ แต่ไม่ควรมุ่งเน้นไปที่การใช้งบประมาณในการซื้ออุปกรณ์ แต่เป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

o มีเครื่องมือ อุปกรณ์ เพียงพอ

o มีระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพียงพอ

o มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงานแบบภควันตภาพ

 

องค์ประกอบที่ 9 ด้านข้อมูล (DT)

มีการจัดเก็บฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อให้มีข้อมูลในการบริหารจัดการ และต้องมีการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงาน ทั้งภายในและภายนอกเข้าด้วยกัน โดยต้องลดภาระในการเก็บข้อมูลซ้ำซ้อน และให้ใช้ระบบฐานข้อมูลสารสนเทศเป็นเครื่องมือช่วยในการบริหารข้อมูล

o มีระบบฐานข้อมูลของหน่วยงาน

o มีการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานโดยเทคนิคต่าง ๆ

  – ปฏิบัติงานโดยเน้นให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Citizen-centric)

องค์ประกอบที่ 10
ด้านรูปแบบและกระบวนการให้บริการ (PRC)

มีการวิเคราะห์กระบวนการเพื่อให้เกิดช่องทางการรับบริการและช่องทางการสื่อสารอย่างหลากหลาย ในปัจจุบัน โดยกำหนดเป็นนโยบายระดับ สพฐ. สพท. และสถานศึกษา เพื่อให้เกิดการปฏิบัติทั่วทั้งองค์กรในรูปแบบ Platform เดียวกัน รวมทั้งนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์เพื่อรองรับการทำงานแบบภควันตภาพ

o มีช่องทางการรับบริการที่หลากหลาย

o มีช่องทางการสื่อสารที่หลากหลาย

o มีการใช้ปรับปรุงกระบวนการเพื่อลดสำเนา/ลดกระดาษ

o มีการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยในการลดดุลยพินิจในการตัดสินใจ

บริการประชาชนตลอดเวลา (On-demand services)

องค์ประกอบที่ 11
ด้านระยะเวลาและสถานที่ (TP)

เป็นการทำงานที่บุคลากรเป็นอิสระจากระยะเวลาและสถานที่ สามารถปฏิบัติงานได้ทุกที่ ทุกเวลา ใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือทางเทคโนโลยีในการเข้าถึงการปฏิบัติงาน

o มีนโยบายจากผู้บริหารเพื่อให้บุคลากรสามารถปฏิบัติงานได้ทุกที่ทุกเวลา

มีความสามารถในการใช้ความรู้ สติปัญญา และข้อมูลสารสนเทศเพื่อแก้ไขปัญหาและสร้างคุณค่า (Knowledge worker) มีความสามารถในการเรียนรู้ (Educability) มีเหตุผลในเชิงจริยธรรม (Ethicability)

องค์ประกอบที่ 13
ด้านการบริหารบุคลากร (HR)

การบริหารบุคลากรโดยมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน ตั้งแต่กระบวนการสรรหา บรรจุ แต่งตั้ง การพัฒนา มีการประเมินผลและกำหนดสิ่งจูงใจแต่ผู้ปฏิบัติงานตามภควันตภาพ แต่ควรต้องควรระวังในเรื่องความขัดแย้งของบุคลากรที่ได้รับผลประโยชน์พิเศษจากการที่ตนเองได้รับสิ่งจูงใจในขณะที่หลายคนไม่ได้รับ หากไม่สามารถแสดงผลการทำงานได้ชัดเจน จึงควรมีการกำหนดตัวชี้วัดระดับบุคคลด้านการทำงานแบบภควันตภาพที่ชัดเจน

o มีการกำหนดคุณสมบัติทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการในการบริหารงานบุคคลในหน่วยงานให้เกิดภควันตภาพ

o มีการกำหนดตัวชี้วัดระดับบุคคลด้านการทำงานแบบภควันตภาพ

 

องค์ประกอบที่ 14
ด้านพฤติกรรมของบุคลากร (BHV)

เป็นการสอดแทรกให้การทำงานแบบภควันตภาพเข้าสู่กระบวนการทำงานของบุคลากร เพื่อปรับพฤติกรรมให้เหมาะสมตามสมรรถนะหรือสายงาน โดยเฉพาะในหน่วยงานที่มีลักษณะของบุคลากรที่หลากหลาย ต่างเพศ ต่างอายุ ต่างประสบการณ์ ผู้บริหารจะต้องใช้ศาสตร์และศิลป์ในการโน้มน้าว ปรับเปลี่ยน และยืดหยุ่นในบางสถานการณ์

o มีกิจกรรมที่ปรับพฤติกรรมของบุคลากรในหน่วยงานเพื่อให้มีพฤติกรรมการทำงานแบบภควันตภาพ

o บุคลากรในหน่วยงานมีแนวโน้มของพฤติกรรมการทำงานแบบภควันตภาพ (การสังเกต/สำรวจ)

 

องค์ประกอบที่ 15
ด้านวัฒนธรรมการทำงาน (OC)

หน่วยงานควรสร้างวัฒนธรรมเพื่อการทำงานแบบภควันตภาพอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการศึกษาในศตวรรษที่ 21 การทำงานแบบภควันตภาพเป็นการเปลี่ยนวิธีการทำงานในรูปแบบใหม่เสมือนเป็นการปฏิวัติการทำงาน เป็นการสร้างนวัตกรรมใหม่ เปลี่ยนแปลงวิธีปฏิบัติ เปลี่ยนแปลงวิธีคิด บนพื้นฐานของการมีไมตรีจิตที่ดีของบุคลากรในหน่วยงานด้วย

o มีการกำหนดวัฒนธรรมองค์การเพื่อการทำงานแบบภควันตภาพ

o มีการกำหนดการประชุมแบบเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการเพื่อให้บุคลากรพบปะพูดคุยกัน